หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2562

RECORDING DIARY 3











                                                                     
บันทึกการเรียนครั้งที่ 3


         วันนี้อาจารย์ให้เรียนรวมทั้ง 2 เซก อาจารย์ให้นั่งเป็นกลุ่มที่จับกลุ่มเอาไว้เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันทำงานตามหัวข้อที่อาจารย์ได้ให้ไว้ กลุ่มของเราได้เรื่อง " เครื่องกล "


ที่มาของ " เครื่องกล "

      ⇛ การทำงาน เมื่อแรงหนึ่งมากระทำกับวัตถุทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายที่ของวัตถุ โดยแรงที่กระทำผ่านทางระบบจะใช้แรงน้อยกว่าแรงที่กระทำโดยตรง โดยอัตราส่วนระหว่างแรงทั้งสองนี้ถือว่าเป็นข้อได้เปรียบเชิงกล

วิธีดูแล " เครื่องกล "

-⇛ ควรหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์หล่อลื่นในระบบในเรื่องสีระดับ อัตราการพร่องและสภาพ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นตัวบ่งชี้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น หากสีน้ำมันหล่อลื่นขุ่น แสดงว่ามีน้ำรั่วไหลเข้ามาปะปน จะทำให้การหล่อลื่นลดประสิทธิภาพลงและอาจเกิดสนิมในเครื่องได้ อัตราการพร่องหากมากผิดปกติ แสดงว่ามีการรั่วซึมของระบบหล่อลื่น และหากมากขึ้นอาจเกิดการขาดน้ำมัน ทำให้เครื่องจักรสึกหรอได้ - ⇛ควรถ่ายเปลี่ยนผลิตภัณฑ์หล่อลื่นตามกำหนดที่ผู้ผลิตเครื่องแนะนำ และการถ่ายเปลี่ยนต้องมั่นใจว่าเติมถูกชนิด ในปริมาณที่พอดี ไม่มากไปหรือน้อยไป และมีการบันทึกเพื่ออ้างอิงต่อไป ต้องระมัดระวังมิให้เกิดการใช้ปะปนกับผลิตภัณฑ์หล่อลื่นเกรดอื่น - ⇛หม้อกรองน้ำมันหล่อลื่น หม้อกรองอากาศ และหม้อกรองเชื้อเพลิง ต้องหมั่นล้างและเปลี่ยนตามกำหนดหรือเมื่อเสื่อมสภาพ - ⇛ควรหมั่นปรับแต่งเครื่องจักรกลให้ถูกต้องเสมอ เช่น ตั้งศูนย์ ปรับแต่งรอบการเผาไหม้ เป็นต้น - ⇛เมื่อทำการถอดซ่อมแซมชิ้นส่วน ให้เช็ดล้างให้สะอาดก่อนนำมาประกอบ และเมื่อต้องเติมน้ำมันใหม่ ควรฟลัชล้างระบบด้วยน้ำมันชนิดนั้นก่อนเพื่อแน่ใจว่าระบบสะอาดก่อนเติมน้ำมันใหม่และเริ่มใช้งาน - ⇛ควรใช้เครื่องจักรกลตามกำลังความสามารถ และใช้อย่างถนอม

ประเภทของ " เครื่องกล "

⇛  เครื่องกล เครื่องกลแบ่งเป็นหลายประเภท เช่น รอก คาน พื้นเอียง ลิ่ม สกรู ล้อและเพลา

คุณสมบัติของ " เครื่องกล "

- ช่างคิด ชอบประดิษฐ์ คิดค้นสิ่งต่าง ๆ - สนใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีใหม่และนวัตกรรม - ชอบคำนวณ การวิเคราะห์ทางฟิสิกส์ และ คณิตศาสตร์ - มีลักษณะความเป็นผู้นำ - ความสามารถวางแผน และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี - ยึดมั่นในหลักเหตุและผล - ใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ ฯลฯ - และต้องมีความเข้าใจในหลักการพื้นฐานของหลักกลศาสตร์ พลศาสตร์ อุณหพลศาสตร์ กลศาสตร์ของไหลและพลังงานเป็นอย่างดี สามารถใช้หลักการพื้นฐานได้ดีพอกับความรู้อื่น ๆ ในงานภาคสนามเพื่อการออกแบบและวิเคราะห์ยานยนต์ อากาศยาน ระบบทำความร้อนและความเย็น เรือ ระบบการผลิต จักรกลและอุปกรณ์อุตสาหกรรม หุ่นยนต์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น

คำศัพท์

- Mechanical     เครื่องกล
- Industry           อุตสาหกรรม
- Manufacturing    การผลิต
- plan                  วางแผน
- Analysis           การวิเคราะห์

ประเมินอาจารย์ 

      ⇛  อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา อธิบายให้นักศึกษาฟังอย่างละเอียดและเข้าใจ ให้คำปรึกษาได้เข้าใจ

ประเมินเพื่อน 

      ⇛  เพื่อนตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและช่วยกันตอบคำถาม

ประเมินตัวเอง 



      ⇛  ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและทำความเข้าใจกับสิ่งที่อาจารย์สอนและช่วยเพื่อนในกลุ่มทำงานที่อาจารย์ได้มอบหมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น