สรุปวิจัย
เรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยและเทคนิคการใช้คำถาม
วัตถุประสงค์
⇛ เพื่อหาประสิทธิภาพและหาดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยและเทคนิคการใช้คำถามและเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย
กลุ่มตัวอย่างนักเรียน
⇛ ชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนชุมชนวัดสามบ่อ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 34 คน
ประโยชน์ของการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
- เด็กได้เรียนรู้ตามความสนใจและความถนัด
- เด็กได้ลงมือปฎิบัติและสรรค์สร้างความรู้
- ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะ เช่น ทักษะการสังเกต
- เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ
- เป็นเทคนิคการสอน-การเรียน ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
- เป็นเทคนิคการประเมินที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
- ใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์
- ใช้เป็นข้อมูลในการทำวิจัยของครู
- เด็กได้ทำงานร่วมกับเพื่อน พ่อ แม่ และคุณครู
- เด็กได้วิพากษ์วิจารณ์ วิธีการ ผลงาน ทั้งของตนและคนอื่น
- เด็กได้มีโอกาสนำเสนอผลงานที่ตนสนใจ
สรุป
⇛ การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น การจัดให้เหมาะสมกับธรรมชาติและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กต้องให้เด็กได้เรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับความจริงต่างๆและการได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 สังเกต สำรวจ ค้นคว้า ทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูลและลงมือปฎิบัติจริงด้วยตนเองครูจึงมีหน้าที่กระตุ้นให้เด็กได้ใช้ทักษะกระบวนการการวิทยาศาสตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น