หน้าเว็บ

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562

RECORDING DIARY 11












บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

        วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาไปทำกิจกรรมที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กซอยเสือใหญ่ วันนี้มีการจัดทำกิจกรรม 3 กลุ่ม โดยอีก 3 กลุ่มที่เหลือจะเป็นคนที่คอยช่วยเหลือเพื่อน


 ❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️

การจัดกิจกรรม 😊











ประเมินอาจารย์ 

      ⇛  อาจารย์จะคอยนั่งอยู่ข้างๆ อาจารย์จะให้นักศึกษาได้ลองทำกิจกรรมด้วยตนเองแต่อาจารย์จะคอยช่วยเหลือให้คำแนะนำนักศึกษาอยู่ตลอดเวลา


ประเมินเพื่อน 

      ⇛  เพื่อนตั้งใจทำกิจกรรมและฟังที่อาจารย์คอยบอก คอยแนะนำ

ประเมินตัวเอง 

      ⇛  ตั้งใจทำกิจกรรมและฟังคำแนะนำจากอาจารย์



วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2562

RECORDING DIARY 10











บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10



            วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมาทำการทดลองอีก 1 รอบ เพื่อที่จะแก้ไขและนำไปทดลองให้กับเด็กได้ดูจริงๆ

กลุ่มที่ 1 ลูกโป่งพองโต 🍄



กลุ่มที่ 2 ภูเขาไฟลาวา 🍄



กลุ่มที่ 3 การแยกเกลือ พริกไทย 🍄


กลุ่มที่ 4 การลอยจมของน้ำมัน 🍄


กลุ่มที่ 5 โลกของแสงสีและรวดลายพิศวง 🍄


กลุ่มที่ 6 ลูกข่างหลากสี🍄


กิจกรรมที่ 1 ภาพเคลื่อนไหว 🙂

1. อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้ตัดออกเป็น 2 ส่วน จากนั้นนำมาพับให้เป็นครึ่งแนวนอนให้กระดาษเกินออกมานิดหน่อย


2. จากนั้นวาดรูปอะไรก็ได้ลงตรงหน้ากระดาษและข้างในกระดาษในสัมพันธ์กัน เพราะเวลาเราเปิดเร็วๆเราจะเห็นภาพเคลื่อนไหวจากสิ่งที่เราวาด



กิจกรรมที่ 2 ภาพหมุน 🙂

1. อาจารย์นำกระดาษที่เหลือจากกิจกรรมี่แล้วนำมาตัดครึ่ง


2. วาดรูปอะไรก็ลงไปที่กระดาษทั้ง 2 แผ่น แต่ต้องให้มีความสัมพันธ์กันและให้ตรงกับตำแหน่งที่เราได้วางไว้ เพื่อเวลาเราหมุนเร็วภาพ 2 อัน จะอยู่ที่เดียวกัน



กิจกรรมที่ 3 ประดิษฐ์ของเล่นจากกระดาษ 🙂

    อาจารย์ให้เราประดิษฐ์ของเล่นอะไรก็ได้ 1 ชิ้น แต่ของเล่นชิ้นนั้นเราต้องบอกให้ได้ด้วยว่าสิ่งที่เราทำนั้นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร  


ประดิษฐ์ลูกข่าง


           สำหรับลูกข่างเมื่อหมุนโดยนำตัวลูกข่างหงายขึ้นจับตรงก้านแล้วหมุน ลูกข่างจะค่อย ๆ เอียงแล้วท้ายสุดลูกข่างจะจิ้มลงและก้านจะชูขึ้นด้านบน เป็นผลของแรงเสียดทานที่พื้นกระทำกับลูกข่าง ถ้าพื้นลื่น มีแรงเสียดทานไม่พอ ลูกข่างจะกระดกไม่ขึ้น ทำให้พลังงานศักย์เพิ่มขึ้น


คำศัพท์

Friction     แรงเสียดทาน
Top            ลูกข่าง
Potential energy พลังงานศักย์
Science วิทยาศาสตร์
Position ตำแหน่ง


ประเมินอาจารย์ 

      ⇛  อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา อธิบายให้นักศึกษาฟังอย่างละเอียดอาจารย์มีการแนะนำที่ดี และเสริมรายละเอียดให้มาก

ประเมินเพื่อน 

      ⇛  เพื่อนตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและตั้งใจทำ

ประเมินตัวเอง 

      ⇛  ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและเก็บสิ่งที่อาจารย์บอกไปแก้ไข


วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2562

RECORDING DIARY 9









บันทึกการเรียนครั้งที่ 9


                วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาไปดูสัมมนาหลังฝึกประสบกรณ์วิชาชีพครู 1 ของพี่นักศึกษาชั้นปีที่ 5 



การสอนแบบไฮสโคป ( High / Scope )
         การสอนเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้พัฒนาคน  การเรียนรู้และการสอนทำให้มีการคิดเชื่อมโยงความรู้ได้อย่างรวดเร็ว  การศึกษาปฐมวัยจึงเป็นการศึกษาที่จัดให้แก่เด็ก  6  ขวบแรก  เป็นการจักการศึกษาเพื่อการดูแล  และสร้างเสริมเด็กให้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ  ด้วยการเรียนรู้ที่ถูกต้องแจ้งชัด  ลักษณะการจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งจำเพาะไปที่พัฒนาเด็ก  ใจเด็ก  และอนาคตเด็ก
            การสอนเด็กปฐมวัยไม่ใช่การถ่ายทอดความรู้  แต่เป็นการจัดประสบการณ์อย่างมีรูปแบบเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ  พัฒนาสมรรถนะทางปัญญา  และพัฒนาจิตนิยมที่ดี  การเรียนการสอนสำหรับปฐมวัย มีหลากหลายรูปแบบ  แต่สำหรับรูปแบบที่ผู้เขียนจะนำเสนอนั้นก็เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มีความน่าสนใจอีกรูปแบบหนึ่ง  รูปแบบการเรียนการสอนที่ว่านั้นก็คือ  รูปแบบการเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป

แนวคิดพื้นฐาน
           การสอนแบบไฮ/สโคป มีพื้นฐานแนวคิดมาจากทฤษฎีของเพียเจท์ (Piage’s Theory)ว่าด้วยพัฒนาทางสติปัญญา ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติที่เด็กสามารถสร้างความรู้ได้เองโดยใช้กระบวนการสร้างสรรค์การเรียนรู้ (Constructive process of learning) เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำของตน การประเมินผลงานอย่างมีแบบแผน ช่วยให้เด็กเกิดความรู้ขึ้น  เด็กสามารถสร้างความรู้ได้จากประสบการณ์ที่มีความหมาย ซึ่งจากแนวคิดนี้ ในการเรียนเด็กสามารถเลือกเรียนเลือกปฏิบัติจัดกระทำดำเนินการเรียนรู้และประเมินผลงานของตนเอง  เด็กจะได้รับการกระตุ้นจากครูให้คิดนำอุปกรณ์มากระทำหรือเล่นด้วยการวางแผนการทำงาน แล้วดำเนินตามแผนไว้ตามลำดับพร้อมแก้ปัญหาและทบทวนงานที่ทำด้วยการทำงานร่วมกันกับเพื่อนเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยมีครูคอยให้กำลังใจ  ถามคำถาม  สนับสนุน และเพิ่มเติมสิ่งที่เด็กต้องเรียนรู้ 

การเรียนการสอน
          การเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป เป็นการสร้างองค์ความรู้จากการที่เด็กได้ลงมือจัดกระทำกับอุปกรณ์ หรือสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นประสบการณ์ตรง  โดยที่ครูจะเป็นคนเตรียมอุปกรณ์ให้กับเด็กและกระตุ้นให้เด็กพัฒนาและดำเนินกิจกรรม โดยใช้หลักปฏิบัติ 3  ประการ  คือ
- การวางแผน ( Plan ) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติหรือดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย  มีการสนทนาระหว่างครับเด็ก  ว่าจะทำอะไร อย่างไร  การวางแผนกิจกรรมอาจจะใช้แสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็ก  เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือก และตัดสินใจ
- การปฏิบัติ ( Do ) คือการลงมือกระทำตามแผนที่วางไว้  เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา  ตัดสินใจและทำด้วยตนเอง  เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพัธ์ทางสังคมสูง
- การทบทวน ( Review ) เป็นช่วงที่ได้งานตามจุดประสงค์  ช่วงนี้จะมีการอภิปรายและเล่าถึงผลงานที่เด็กทำเพื่อทบทวนว่า เด็กสามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้หรือไม่  มีการเปลี่ยนแปลงแผนอย่างไร  และชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างแผนกับการปฏิบัติ  และผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับ
            การที่เด็กได้ลงมือทำงามหรือกิจกรรมด้วยความสนใจ  จะทำให้เด็กสนุกกับการทกงาน  การทำตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ผลงานที่เกิดขึ้นนับเป็นความสำเร็จของเด็กในการลงมือทำกิจกรรมกับเพื่อนอย่างมีความสุข


การสอนแบบโครงการ ( Project  Approach )
          Project Approach (การสอนแบบโครงการ) เป็นการเรียนที่มุ่งเน้นให้เด็กมีส่วนร่วมและกระตุ้นให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง พร้อมเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งที่เด็กสนใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก และตอบสนองตามความต้องการที่หลากหลายของเด็ก ๆ โดยเป็นกิจกรรมเชิงปฏิบัติที่เน้นให้เด็กลงมือทำได้ด้วยตัวเอง การสอนแบบโครงการนี้ถือเป็นเครื่องมือการสอนที่ดีอย่างยิ่งสำหรับคุณครู เพราะจะแสดงให้เห็นถึงสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่แนวคิดในเรื่องแห่งความเป็นจริง การตั้งคำถามจากความสนใจที่แท้จริง และการค้นหาคำตอบในเชิงลึกของเด็กในหัวข้อหรือเรื่องที่เด็กสนใจ แล้วยังส่งเสริมทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านการสำรวจ การสืบค้น การจดบันทึก และการคิดวิเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ตามเรื่องที่เด็กสนใจ ผ่านประสบการณ์ตรงที่หลากหลาย ตลอดจนการใช้ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะที่สรุปออกมาเป็นชิ้นงาน

วิธีการสอนแบบ  ( Project  Approach )
        เป็นวิธีการสอนให้เด็กเลือกเรื่อง หรือหัวข้อของโครงการตามความสนใจของเด็ก ๆ โดยเฉพาะ คุณครูสามารถกำหนดขอบเขตตามพัฒนาการของเด็ก ๆ ผ่านกระบวนการ 3 ระยะ ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นโครงการ ขั้นพัฒนาโครงการ จนถึงการสรุปโครงการ ซึ่งจะช่วยให้คุณครูสามารถจัดระเบียบ ดูความก้าวหน้าของกิจกรรมตามการพัฒนาความสนใจของเด็ก และการมีส่วนร่วมกับหัวข้อการเรียนรู้นั้น ๆ
        ในระหว่างขั้นตอนการวางแผนเบื้องต้น คุณครูจะเลือกหัวข้อการเรียนรู้ตามความสนใจของเด็กเป็นหลัก และระดมประสบการณ์ความรู้ แนวคิดของตัวเด็ก แล้วนำเสนอเป็นหัวข้อใน Mind Map จากนั้นแตกออกมาเป็นหัวข้อย่อย เพื่อที่จะถูกเพิ่มในหัวข้อของ Mind Map และใช้สำหรับบันทึกความก้าวหน้าของโครงการ

การสอน 3 ระยะของ  ( Project  Approach )
ระยะที่ 1 : การเริ่มต้นโครงการ
           คุณครูร่วมกันอภิปรายหัวข้อกับเด็ก ๆ เพื่อค้นหาประสบการณ์ที่เด็กมี สิ่งที่เด็กรู้แล้ว และสิ่งที่เด็กอยากรู้ เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ และแสดงความเข้าใจแนวคิดที่เกี่ยวข้อง จากการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน คุณครูจะใช้คำถามถาม เพื่อกระตุ้นให้เด็กตอบคำถาม และทำจดหมายเกี่ยวกับหัวเรื่องการเรียนรู้ของโครงการส่งกับบ้านถึงผู้ปกครอง เพื่อสนับสนุนให้ผู้ปกครองได้พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับหัวข้อนั้น ๆ และแบ่งปันความรู้ให้กับเด็ก ๆ เพื่อเด็กจะได้นำความรู้ใหม่ ๆ ที่ได้รับมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อน ๆ ในห้องต่อไป
ระยะที่ 2 : การพัฒนาโครงการ
           ขั้นตอนนี้จะเป็นการจัดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ทำงานภาคสนามและพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็กสนใจเรียนรู้ โดยคุณครูจะเป็นผู้จัดหาทรัพยาการต่าง ๆ เช่น หนังสือ เอกสารงานวิจัย พร้อมทั้งแนะนำวิธีการตรวจสอบที่หลากหลายให้กับเด็ก เพื่อช่วยเด็กในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลด้วยวัตถุจริง เปิดโอกาสให้เด็กแต่ละคนมีส่วนร่วมในการเป็นตัวแทนของสิ่งที่เค้ากำลังสืบค้น และช่วยให้เด็กสามารถทำงานตามความสามารถของตัวเองได้ เช่น บางคนมีทักษะพื้นฐานด้านงานประดิษฐ์ การวาดภาพ การนำเสนอ และการเล่นละคร โดยคุณครูช่วยสนับสนุนให้เด็กได้ทำงานตามความถนัดของแต่ละคนผ่านการอภิปรายในห้องเรียน หัวข้อของ Mind Map ที่ออกแบบไว้ก่อนหน้า จะให้ข้อมูลย่อเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการ
ระยะที่ 3 : การสรุปโครงการ
           เด็กและคุณครูร่วมกันจัดนิทรรศการ โดยให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อ Project Approach ให้เด็ก ๆ ช่วยกันอภิปรายถึงหลักฐานที่สืบค้น เปรียบเทียบการตั้งสมมุติฐานว่าตรงกันหรือไม่ เล่าเรื่องโครงการของพวกเขาให้ผู้อื่นฟัง โดยเน้นจุดเด่นของโครงการ คุณครูและผู้ปกครองช่วยเด็ก ๆ วางแผนการดำเนินการ พร้อมเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เด็ก ๆ ทำและค้นพบ อย่างเต็มความสามารถ ความสนุกสนาน ความกระตือรือร้นและความภูมิใจในตัวเด็กผ่านผลงานต่าง ๆ ทั้งนี้ครูควรบันทึกความคิดและความสนใจของเด็กในระหว่างการทำโครงการ เพื่อเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงทางความสนใจ ความรู้ และความคิดของเด็ก ๆ ว่าก่อนเริ่มโครงการและหลังจากสรุปโครงการมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และเพื่อเป็นแนวทางในการหาหัวข้อของโครงการในครั้งต่อไป









คำศัพท์

Interest          ความสนใจ
Exposition     นิทรรศการ
Experience    ประสบการณ์
Planning        การวางแผน
Design            การออกแบบ

ประเมินอาจารย์ 

      ⇛  อาจารย์ดูแลได้อย่างดี คอยแนะนำสิ่งต่างๆให้กับนักศึกษา

ประเมินเพื่อน 

      ⇛  เพื่อนตั้งใจเรียนรู้จากพี่ๆ มีการถามกับสิ่งที่สงสัย

ประเมินตัวเอง 

      ⇛  ตั้งใจฟังพี่ๆพูด อันไหนที่ไม่เข้าใจก็จะถามแล้วเก็บนำมาใช้