บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมาทำการทดลองอีก 1 รอบ เพื่อที่จะแก้ไขและนำไปทดลองให้กับเด็กได้ดูจริงๆ
กลุ่มที่ 1 ลูกโป่งพองโต 🍄
กลุ่มที่ 2 ภูเขาไฟลาวา 🍄
กลุ่มที่ 4 การลอยจมของน้ำมัน 🍄
กลุ่มที่ 6 ลูกข่างหลากสี🍄
กิจกรรมที่ 1 ภาพเคลื่อนไหว 🙂
1. อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้ตัดออกเป็น 2 ส่วน จากนั้นนำมาพับให้เป็นครึ่งแนวนอนให้กระดาษเกินออกมานิดหน่อย
2. จากนั้นวาดรูปอะไรก็ได้ลงตรงหน้ากระดาษและข้างในกระดาษในสัมพันธ์กัน เพราะเวลาเราเปิดเร็วๆเราจะเห็นภาพเคลื่อนไหวจากสิ่งที่เราวาด
กิจกรรมที่ 2 ภาพหมุน 🙂
1. อาจารย์นำกระดาษที่เหลือจากกิจกรรมี่แล้วนำมาตัดครึ่ง
2. วาดรูปอะไรก็ลงไปที่กระดาษทั้ง 2 แผ่น แต่ต้องให้มีความสัมพันธ์กันและให้ตรงกับตำแหน่งที่เราได้วางไว้ เพื่อเวลาเราหมุนเร็วภาพ 2 อัน จะอยู่ที่เดียวกัน
กิจกรรมที่ 3 ประดิษฐ์ของเล่นจากกระดาษ 🙂
อาจารย์ให้เราประดิษฐ์ของเล่นอะไรก็ได้ 1 ชิ้น แต่ของเล่นชิ้นนั้นเราต้องบอกให้ได้ด้วยว่าสิ่งที่เราทำนั้นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร
ประดิษฐ์ลูกข่าง
สำหรับลูกข่างเมื่อหมุนโดยนำตัวลูกข่างหงายขึ้นจับตรงก้านแล้วหมุน ลูกข่างจะค่อย ๆ เอียงแล้วท้ายสุดลูกข่างจะจิ้มลงและก้านจะชูขึ้นด้านบน เป็นผลของแรงเสียดทานที่พื้นกระทำกับลูกข่าง ถ้าพื้นลื่น มีแรงเสียดทานไม่พอ ลูกข่างจะกระดกไม่ขึ้น ทำให้พลังงานศักย์เพิ่มขึ้น
คำศัพท์
Friction แรงเสียดทาน
Top ลูกข่าง
Potential energy พลังงานศักย์
Science วิทยาศาสตร์
Position ตำแหน่ง
ประเมินอาจารย์
⇛ อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา อธิบายให้นักศึกษาฟังอย่างละเอียดอาจารย์มีการแนะนำที่ดี และเสริมรายละเอียดให้มาก
ประเมินเพื่อน
⇛ เพื่อนตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและตั้งใจทำ
ประเมินตัวเอง
⇛ ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและเก็บสิ่งที่อาจารย์บอกไปแก้ไข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น