หน้าเว็บ

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2562

RECORDING DIARY 5













บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  5


           อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มโพสสื่่อเกี่ยวกับงานกลุ่มที่ได้ กลุ่มเราได้สื่อ " เครื่องกล "
จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาไปร่วมงาน " ศึกษาศาสตร์วิชาการ " ที่ใต้ตึก 34 


😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃

งานศึกษาศาสตร์วิชาการ








กิจกรรมของการศึกษาปฐมวัย

1. กิจกรรมการให้ความรู้เกี่ยวกับในหลวงกับการศึกษาไทย การจัดการศึกษาปฐมวัย ความเป็นมาของการศึกษาปฐมวัย 2. เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการใช้ประสาทสัมผัสจากความคุ้นเคย(ประสบการ์เดิม) ได้แก่ 1.1) กิจกรรมการดมกลิ่นปริศนา 1.2) กิจกรรมสัมผัสของในกล่อง 1.3) กิจกรรมปิดตาชิม 1.4) กิจกรรมจำภาพให้ได้ภายใน10วินาที





กิจกรรมของ จิตวิทยา

1.ให้ความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาเชิงบวก ได้แก่ แนวคิดจิตวิทยา เทคนิคพัฒนาความสุขตามแนวคิดจิตวิทยา 2.กิจกรรมจับไข่แล้วตอบคำถาม




 




กิจกรรมของ พลศึกษา

1.กิจกรรมเกมชิงธง 2.กิจกรรมเกมโยนห่วงหรรษา 3.กิจกรรมการให้ความรู้เกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์เพศชายและแจกถุงยางอนามัยให้กับนักศึกษาชาย
4.ประวัติพลศึกษาในประเทศไทย






กิจกรรมของ สาขาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์

กิจกรรมการตอบคำถามเกมquizizz โดยมีการแบ่งคำถามเป็นหมวดหมู่ เช่น ภาษาไทย ศิลปะ พลศึกษา ภาษาอังกฤษ เป็นต้น และมอบของรางวัลให้กับผู้ที่ตอบคำถามได้เร็วและถูกต้องที่สุด


คำศัพท์

- Puzzle  ปริศนา
- Reproductive organs อวัยวะสืบพันธุ์
- Sense ประสาทสัมผัส
- Art ศิลปะ
- Familiarity ความคุ้นเคย







วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2562

TEACHING EXAMPLES

  
สรุปตัวอย่างการสอน

เรื่อง มารู้จักฟองอากาศกัน


  ⇛ ก่อนที่คุณครูจะเริ่มทำกิจกรรม ครูจะถามเด็กๆว่า อากาศนั้นคืออะไร เด็กๆก็จะยกมือช่วยกันตอบจากนั้นครูก็ให้เด็กยกมือขึ้นมา 2 มือ แล้วให้เด็กหายใจลงไปบนมือของเด็กพร้อมกับให้นำเอาปากไปเป่าที่มือของเด็กเมื่อเด็กๆได้ลองทำเสร็จ คุณครูก็จะบอกว่าลมที่กระทบบนมือเรานั้นคืออากาศนั้นเอง อากาศจะมีอยู่รอบๆตัวของเราแต่เรานั้นมองไม่เห็น คุณครูได้อธิบายเสร็จก็ให้เด็กๆได้ไปทำการทดลอง " อากาศในแก้ว "  คุณครูให้เด็กหยดน้ำยาล้างจานลงไปใส่ในภาชนะที่มีน้ำจากนั้นให้นำแก้วพลาสติกจุ่มลงไปในภาชนะจากนั้นก็จะเกิดเป็นฟองสบู่ออกมา แล้วคุณครูก็ได้อธิบายให้เด็กๆฟังว่าการที่เกิดฟองสบู่นั้นเกิดจากอากาศที่อยู่ในแก้วเมื่อกดแล้วลงไปก็จะเกิดฟองสบู่ขึ้นมา  

THE ARTICLE


สรุปบทความ
เรื่อง  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 


บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย

1.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยช่วยให้เด็กได้พัฒนาความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกรอบตัว  เด็กจะได้รับการส่งเสริมและตอบสนองต่อคำถามที่เกิดขึ้นระหว่างการสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัวของตนเองอย่างเหมาะสม 
2.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ 4 ด้านได้แก่ ด้านร่างกายการจัดกิจกรรมให้เด็กได้สำรวจสิ่งต่างๆรอบตัวเด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าและใช้อุปกรณ์สำรวจอย่างง่ายซึ่งเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กด้านอารมณ์และจิตใจ การจัดกิจกรรมสำรวจและทดลอง เด็กได้รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง รู้จักใช้เหตุผล กล้าตัดสินใจได้แสดงผลงานและความสามารถจากการสำรวจด้านสังคม เด็กได้ฝึกการช่วยเหลือตนเองในการทำกิจกรรมรู้จักทำงานร่วมกับเพื่อนรู้จักการให้และการรับฝึกการปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือข้อตกลงร่วมกันและเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมรอบตัวและช่วยกันดูและรักษาด้านสติปัญญาเด็กได้พัฒนาความสามารถในการถามคำถามเชิงวิทยาศาสตร์การค้นหาคำตอบด้วยวิธีการต่างที่เหมาะสมกับวัยได้บอกลักษณะของสิ่งที่สำรวจพบด้วยคำพูด การวาดภาพ ได้เรียนรู้ใหม่และบอกวิธีการเรียนรู้ของตนเอง 
3.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยช่วยให้เด็กได้มีโอกาสใช้จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ในการออกแบบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ตลอดจนคิดวิธีการแก้ปัญหาต่างๆตามวัยและศักยภาพผ่านทางการเล่นทางวิทยาศาสตร์ 

สรุป

      การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิดทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบสามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลาย
      การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรงได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย 

RESEARCH


สรุปวิจัย


เรื่อง  การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยและเทคนิคการใช้คำถาม


วัตถุประสงค์
          
     ⇛ เพื่อหาประสิทธิภาพและหาดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยและเทคนิคการใช้คำถามและเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย

กลุ่มตัวอย่างนักเรียน

    ⇛ ชั้นอนุบาล 2  โรงเรียนชุมชนวัดสามบ่อ  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553  จำนวน 34 คน

ประโยชน์ของการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย

- เด็กได้เรียนรู้ตามความสนใจและความถนัด
- เด็กได้ลงมือปฎิบัติและสรรค์สร้างความรู้
- ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะ เช่น ทักษะการสังเกต
- เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ
- เป็นเทคนิคการสอน-การเรียน ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
- เป็นเทคนิคการประเมินที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
- ใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์
- ใช้เป็นข้อมูลในการทำวิจัยของครู
- เด็กได้ทำงานร่วมกับเพื่อน พ่อ แม่ และคุณครู
- เด็กได้วิพากษ์วิจารณ์ วิธีการ ผลงาน  ทั้งของตนและคนอื่น
- เด็กได้มีโอกาสนำเสนอผลงานที่ตนสนใจ

สรุป

      ⇛ การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น การจัดให้เหมาะสมกับธรรมชาติและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กต้องให้เด็กได้เรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับความจริงต่างๆและการได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 สังเกต  สำรวจ ค้นคว้า ทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูลและลงมือปฎิบัติจริงด้วยตนเองครูจึงมีหน้าที่กระตุ้นให้เด็กได้ใช้ทักษะกระบวนการการวิทยาศาสตร์


วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2562

RECORDING DIARY 4













บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4


งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี



ภาพในงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี



แกะรอยขุมทรัพย์ศาลาแยกธาตุ



พินิจ พิพิธ-พันธุ์



กลไกและการเคลื่อนที่






วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2562

RECORDING DIARY 3











                                                                     
บันทึกการเรียนครั้งที่ 3


         วันนี้อาจารย์ให้เรียนรวมทั้ง 2 เซก อาจารย์ให้นั่งเป็นกลุ่มที่จับกลุ่มเอาไว้เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันทำงานตามหัวข้อที่อาจารย์ได้ให้ไว้ กลุ่มของเราได้เรื่อง " เครื่องกล "


ที่มาของ " เครื่องกล "

      ⇛ การทำงาน เมื่อแรงหนึ่งมากระทำกับวัตถุทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายที่ของวัตถุ โดยแรงที่กระทำผ่านทางระบบจะใช้แรงน้อยกว่าแรงที่กระทำโดยตรง โดยอัตราส่วนระหว่างแรงทั้งสองนี้ถือว่าเป็นข้อได้เปรียบเชิงกล

วิธีดูแล " เครื่องกล "

-⇛ ควรหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์หล่อลื่นในระบบในเรื่องสีระดับ อัตราการพร่องและสภาพ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นตัวบ่งชี้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น หากสีน้ำมันหล่อลื่นขุ่น แสดงว่ามีน้ำรั่วไหลเข้ามาปะปน จะทำให้การหล่อลื่นลดประสิทธิภาพลงและอาจเกิดสนิมในเครื่องได้ อัตราการพร่องหากมากผิดปกติ แสดงว่ามีการรั่วซึมของระบบหล่อลื่น และหากมากขึ้นอาจเกิดการขาดน้ำมัน ทำให้เครื่องจักรสึกหรอได้ - ⇛ควรถ่ายเปลี่ยนผลิตภัณฑ์หล่อลื่นตามกำหนดที่ผู้ผลิตเครื่องแนะนำ และการถ่ายเปลี่ยนต้องมั่นใจว่าเติมถูกชนิด ในปริมาณที่พอดี ไม่มากไปหรือน้อยไป และมีการบันทึกเพื่ออ้างอิงต่อไป ต้องระมัดระวังมิให้เกิดการใช้ปะปนกับผลิตภัณฑ์หล่อลื่นเกรดอื่น - ⇛หม้อกรองน้ำมันหล่อลื่น หม้อกรองอากาศ และหม้อกรองเชื้อเพลิง ต้องหมั่นล้างและเปลี่ยนตามกำหนดหรือเมื่อเสื่อมสภาพ - ⇛ควรหมั่นปรับแต่งเครื่องจักรกลให้ถูกต้องเสมอ เช่น ตั้งศูนย์ ปรับแต่งรอบการเผาไหม้ เป็นต้น - ⇛เมื่อทำการถอดซ่อมแซมชิ้นส่วน ให้เช็ดล้างให้สะอาดก่อนนำมาประกอบ และเมื่อต้องเติมน้ำมันใหม่ ควรฟลัชล้างระบบด้วยน้ำมันชนิดนั้นก่อนเพื่อแน่ใจว่าระบบสะอาดก่อนเติมน้ำมันใหม่และเริ่มใช้งาน - ⇛ควรใช้เครื่องจักรกลตามกำลังความสามารถ และใช้อย่างถนอม

ประเภทของ " เครื่องกล "

⇛  เครื่องกล เครื่องกลแบ่งเป็นหลายประเภท เช่น รอก คาน พื้นเอียง ลิ่ม สกรู ล้อและเพลา

คุณสมบัติของ " เครื่องกล "

- ช่างคิด ชอบประดิษฐ์ คิดค้นสิ่งต่าง ๆ - สนใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีใหม่และนวัตกรรม - ชอบคำนวณ การวิเคราะห์ทางฟิสิกส์ และ คณิตศาสตร์ - มีลักษณะความเป็นผู้นำ - ความสามารถวางแผน และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี - ยึดมั่นในหลักเหตุและผล - ใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ ฯลฯ - และต้องมีความเข้าใจในหลักการพื้นฐานของหลักกลศาสตร์ พลศาสตร์ อุณหพลศาสตร์ กลศาสตร์ของไหลและพลังงานเป็นอย่างดี สามารถใช้หลักการพื้นฐานได้ดีพอกับความรู้อื่น ๆ ในงานภาคสนามเพื่อการออกแบบและวิเคราะห์ยานยนต์ อากาศยาน ระบบทำความร้อนและความเย็น เรือ ระบบการผลิต จักรกลและอุปกรณ์อุตสาหกรรม หุ่นยนต์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น

คำศัพท์

- Mechanical     เครื่องกล
- Industry           อุตสาหกรรม
- Manufacturing    การผลิต
- plan                  วางแผน
- Analysis           การวิเคราะห์

ประเมินอาจารย์ 

      ⇛  อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา อธิบายให้นักศึกษาฟังอย่างละเอียดและเข้าใจ ให้คำปรึกษาได้เข้าใจ

ประเมินเพื่อน 

      ⇛  เพื่อนตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและช่วยกันตอบคำถาม

ประเมินตัวเอง 



      ⇛  ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและทำความเข้าใจกับสิ่งที่อาจารย์สอนและช่วยเพื่อนในกลุ่มทำงานที่อาจารย์ได้มอบหมาย

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2562

RECORDING DIARY 2













                  บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

    วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาจับกลุ่มกัน 5 คน แล้วให้แต่ละกลุ่มตอบคำถามว่า " เด็กปฐมวัยควรเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ "


สิ่งที่อาจารย์ได้ให้ความรู้

- ตัวเราจะเกิดการรับรู้จากการฟังด้วยหู → สมอง →  สมองมีหน้าที่ → ช่วยจำและแสดงออกเป็นพฤติกรรม
- วิธีที่จะให้เกิดการเรียนรู้  →   การเล่น
- การลงมือกระทำ - ทำให้เกิดการเรียนรู้
- เกิดการเรียนรู้ →  จะเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม → เพื่อการอยู่รอด

คำศัพท์

- Recognition   การรับรู้
- Behavior        พฤติกรรม
- Action            การลงมือกระทำ
- Survival         การอยู่รอด
- Change          การเปลี่ยนแปลง


ประเมินอาจารย์ 

      ⇛  อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา อธิบายให้นักศึกษาฟังอย่างละเอียดและเข้าใจ

ประเมินเพื่อน 

      ⇛  เพื่อนตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและช่วยกันตอบคำถาม

ประเมินตัวเอง 


      ⇛  ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและทำความเข้าใจกับสิ่งที่อาจารย์สอนและช่วยเพื่อนในกลุ่มทำงานที่อาจารย์ได้มอบหมาย

วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2562

RECORDING DIARY 1



 บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  1



         วันนี้เป็นการเรียนการสอนครั้งแรก อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับรายวิชา"การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"ว่าเราต้องเรียนเกี่ยวกับรายวิชานี้อะไรบ้างอาจารย์ได้ชี้แจงเกี่ยวกับการทำงานการทำ Blogger ว่าจะต้องทำเป็นภาษาอังกฤษ

คำศัพท์ 

- Experience  การจัดประสบการณ์
- Science        วิทยาศาสตร์
- Studying      การเรียน
- Teaching      การสอน
-  Doing  Work   การทำงาน

ประเมินอาจารย์ 

      ⇛  อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา อธิบายให้นักศึกษาฟังอย่างละเอียดและเข้าใจ

ประเมินเพื่อน 

      ⇛  เพื่อนตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน

ประเมินตัวเอง 

      ⇛  ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและทำความเข้าใจกับสิ่งที่อาจารย์สอน